วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

จุดประกายชีวิตด้วย "วิทยาศาสตร์" กับนิทรรศการภาพถ่ายแห่งแรงบันดาลใจ

จุดประกายชีวิตด้วย "วิทยาศาสตร์" กับนิทรรศการภาพถ่ายแห่งแรงบันดาลใจ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มีนาคม 2553 12:53 น.

นิทรรศการ "Inspired by Science” จุดประกายชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี นักเรียนทุนรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
"วิทยาศาสตร์" อาจเป็นคำแสลงหูของใครหลายคน แต่ในขณะเดียวกัน "วิทยาศาสตร์" ก็ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายคนด้วยเช่นกัน ซึ่งในจำนวนนั้น เป็นเหล่านักเรียนทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ และในวันนี้พวกเขาได้ถ่ายทอดแรงบันดาลใจสู่การสร้างสรรค์งานวิจัยอันทรงคุณค่าสู่สังคม
"Inspired by Science" จุดประกายชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เป็นนิทรรศการแสดงภาพถ่ายที่สะท้อนให้เห็นถึงแรงบัลดาลใจของนักวิจัยอดีตนักเรียนทุนของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่นำไปผนวกเข้ากับความรู้และนำไปสู่การค้นคว้าวิจัยและพัฒนาออกมาเป็นผลงานที่มีคุณค่าต่อสังคมไทย ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ร่วมกับ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี นักเรียนทุนรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.พรเทพ มีทุนกิจ อดีตนักเรียนทุนของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่เพิ่งเรียนจบกลับมาหมาดๆ โดยประจำการอยู่ที่ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และรับหน้าที่เป็นผู้ประสานงานโครงการ "Inspired by Science" เปิดเผยถึงการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ว่า ต้องการสื่อให้สังคมเห็นว่า 20 ปีที่ผ่านมา นักเรียนทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้ทำอะไรที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมไปแล้วบ้าง โดยอยากให้คนทั่วไปสามารถดูและเข้าใจได้ง่าย จึงเลือกนำเสนอผ่านภาพถ่ายที่สื่อถึงแรงบันดาลใจอันเป็นที่มีของผลงานวิจัยแต่ละเรื่อง แทนที่จะนำเอาผลงานวิจัยมาจัดแสดงโดยตรง ซึ่งอาจดูแล้วเข้าใจได้ยากกว่า
"ภาพถ่ายที่นำมาจัดแสดงให้เป็นตัวแทนของแรงบันใจของนักวิทยาศาสตร์แต่ละคน เป็นภาพถ่ายที่ทางสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ถ่ายไว้อยู่แล้ว และเราได้คัดเลือกภาพที่สื่อได้ตรงกับแรงบันดาลใจของผลงานวิจัยแต่ละเรื่องมากที่สุด และสามารถดึงดูดให้ผู้ที่มาชมงานเกิดความรู้สึกสนใจในวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ได้เห็นว่างานวิจัยสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม" ดร.พรเทพ กล่าวต่อทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์
ทั้งนี้ งานนิทรรศการ "Inspired by Science" จุดประกายชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ จัดแสดงภาพถ่ายจำนวน 20 ภาพ ที่สะท้อนให้เห็นถึงแรงบันดาลใจอันเป็นที่มาของ 20 ผลงานวิจัยที่สร้างสรรค์โดยนักวิจัยอดีตนักเรียนทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 17-21 มี.ค.53 ณ ไลฟ์สไตล์ แกลเลอรี่ ชั้น 2 สยามพารากอน ผู้สนใจสามารถแวะเวียนไปชมกันได้ ไม่แน่ แรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่อาจเกิดขึ้นกับคุณในงานนี้ก็ได้


"กินอิ่ม ยิ้มออก" ภาพแรงบันดาลใจจากผลงานวิจัยเครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เพื่อบรรเทาปัญหาความรุนแรงของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) อดีตนักเรียนทุนกระทรวงวิทย์ฯ 1 ใน 20 ผลงานวิจัยที่จัดแสดงผ่านภาพถ่ายแห่งแรงบันดาลใจ




"เส้นทางสายไหม (สายใหม่)" ภาพแรงบันดาลใจจากผลงานวิจัยเรื่องการเพาะเซลล์กระดูกเทียมจากไหมไทย ของ ผศ.ดร.โศรดา กนกพานนท์ นักวิจัยภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตนักเรียนทุนกระทรวงวิทย์ฯ




"ยืดดดดดดดดอายุ" ภาพแรงบันดาลใจจากผลงานวิจัยเรื่องฟิล์มบรรจุภัณฑ์ยืดอายุผลผลิตสดสร้างเพิ่มมูลค่ามวลรวมให้กับการเกษตรถึง 30-40% ของ ดร.วรรณี ฉินศิริกุล นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) อดีตนักเรียนทุนกระทรวงวิทย์ฯ


ดร.พรเทพ มีทุนกิจ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) อดีตนักเรียนทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ หมาดๆ รับหน้าที่ผู้ประสานงานโครงการ "Inspired by Science” ในโอกาสครบรอบ 20 ปี ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ


ภาพ "ยิ้มแฉ่ง" (ภาพซ้าย) สะท้อนแรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดโครงการวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ผ่าตัดรากฟันเทียมของ ดร.เสาวภาคย์ โสตถิวิรัช นักวิจัยเนคเทค และอดีตนักเรียนทุนกระทรวงวิทย์ฯ

ทั้งชาวนาและชาวสวนผลไม้ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้อดีตนักเรียนทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์พัฒนาผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของพวกเขา


"ธรรมชาติพูดได้" (ภาพซ้าย) และเราสามารถใช้คณิตศาสตร์ช่วยแปรความหมาย เพื่อเตือนให้ล่วงรู้ถึงภัยพิบัติหรือแหล่งขุมทรัพย์ที่รอเราอยู่ข้างหน้า, "หนักหน้าที่ เบาภาระ" (ภาพขวา) แรงบันดาลใจจากรั้วของชาติเป็นที่มาของการพัฒนาเสื้อเกราะโลหะแต่น้ำหนักเบา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้ทหารกล้า

นิทรรศการ "Inspired by Science” จุดประกายชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ ที่นำเสนอแรงบันดาลใจของนักวิจัยอดีตนักเรียนทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ผ่าน 20 ผลงานภาพถ่าย ที่เหมาะเจาะกับ 20 ผลงานวิจัยอันทรงคุณค่า

รูปภาพกิจกรรม

รูปภาพกิจกรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสรรพวิทยาคม

พันธกิจ

1. พัฒนาผู้เรียนให้นำวิทยาศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระวิชาอื่นๆและในชีวิตจริง

2. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะกระบวนการคิดเพื่อเกิดปัญญาและนำไปใช้แก้ปัญหา

3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความสุขด้วยวิถีทางวิทยาศาสตร์แบบพอเพียงและมีคุณธรรม

4. พัฒนาผู้เรียนให้นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตและรักษาสิ่งแวดล้อม

วิสัยทัศน์

"มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้มีความสุขในการสืบเสาะหาความรู้ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อย่างพอเพียงและมีคุณธรรม"

โครงการ SP2


โครงการเสริมสร้างคุณธรรม เพิ่มพลังลูกม่วงเหลืองเข้มแข็ง
ร่วมแรงรักษาเอกลักษณ์ไทย ร่วมใจรักษาสิ่งแวดล้อม
น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง นำไทยรุ่งเรืองสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน



ข่าววิทยาศาสตร์




นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์วัยเยาว์ในระบบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ อายุแค่ 35 ล้านปี ขณะที่ดาวเคราะห์ที่ค้นหาส่วนใหญ่เป็นดาวเคราะห์อายุมากเกินกว่าพันล้านปี อายุน้อยสุดก่อนหน้านี้ที่รู้จักคือ 100 ล้านปี

ปกติดาวฤกษ์อายุน้อย จะถูกแยกออกจากข้อมูลการค้นหาดาวเคราะห์ เพราะสนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ที่มีความเข้มสูง ทำให้ยากต่อการแยกสัญญาณระหว่างกิจกรรมบนดาวฤกษ์กับดาวเคราะห์ออกจากกัน แต่ล่าสุดนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์ชื่อ BD+20 1790b ซึ่งเป็นดาวเคราะห์อายุน้อยที่สุด ดาวเคราะห์ที่พบใหม่นี้ อยู่ในระบบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ มีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดี 6 เท่า และมีอายุเพียง 35 ล้านปี โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์อายุน้อย ในระยะทางที่ใกล้กว่าระยะระหว่างดาวพุธและดวงอาทิตย์ การค้นพบดาวเคราะห์ครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระดับนานาชาติ โดยไซน์เดลีระบุว่า ดร.มาเรีย ครูซ กัลเวซ-ออร์ทิซ (Dr.Maria Cruz Gálvez-Ortiz) และ ดร.จอห์น บาร์นส์ (Dr John Barnes) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเฮิร์ทฟอร์ดไชร์ (University of Hertfordshire) สหราชอาณาจักร ได้เข้าร่วมในการค้นพบนี้ ดร.กัลเวซ-ออร์ทิซ อธิบายถึงการค้นพบดาวเคราะห์อายุน้อยนี้ว่า เป็นการค้นหาจากการเปลี่ยนแปลงความเร็วเพียงน้อยนิดของดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางดาวเคราะห์ เนื่องจากแรงดึงของแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์นั้นๆ ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ เรียกเทคนิคนี้ว่า “ดอปเปลอร์วอบเบิล” (Doppler wobble technique) ทั้งนี้สัญญาณรบกวนจากกิจกรรมบนดาวฤกษ์นั้น เป็นความท้าทายหลักที่ทีมค้นหาต้องเอาชนะให้ได้ แต่ด้วยข้อมูลที่มากพอจากกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายบนโลก ทำให้สัญญาณของดาวเคราะห์อายุน้อยนี้เผยออกมา การค้นพบนี้ได้เสริมความรู้ที่ขาดไป เกี่ยวกับระยะเริ่มต้นในวิวัฒนาการของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ที่ถูกค้นหานั้นมักเป็นดาวเคราะห์ที่มีอายุมาก โดยเกินพันล้านปีขึ้นไป และดาวเคราะห์อายุน้อยสุดที่เคยรู้จักนั้นมีอายุประมาณ 100 ล้านปี ซึ่งการค้นพบดาวเคราะห์อายุน้อยนี้จะช่วยในการทดสอบภาพการก่อตัวของดาวเคราะห์ และตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิวัฒนาการในระยะเริ่มต้นของดาวเคราะห์ การค้นพบดาวเคราะห์อายุน้อยครั้งนี้ ต้องใช้ข้อมูลย้อนกลับไป 5 ปี จากกล้องโทรทรรศน์จากหอดูดาวเดอ คาลาร์ อัลโต (Observatorio de Calar Alto) ในสเปน และหอดูดาวเดล โรกวย เดอ โลส มูชาโชส (Observatorio del Roque de los Muchachos) ในสเปน โดยความร่วมมือของนักดาราศาสตร์จากหลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ อังกฤษและสเปน